กัญชา

ชื่อสมุนไพร

กัญชา

ชื่อวิทยาศาสตร์

Cannabis sativa L. subsp. indica

ข้อบ่งใช้บนหลักฐานเชิงประจักษ์ในคน

  • สารสกัดกัญชาเพิ่มความอยากอาหารและน้ำหนักตัวในผู้ป่วยเอชไอวี

           *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้ เมื่อใช้ยามาตรฐานรักษาแล้วไม่ได้ผล

  • งานวิจัย 5 การศึกษาในผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับ THC พบว่ามีทั้งที่ได้ผลและไม่ได้ผลในการเพิ่มความอยากอาหาร

           *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้ 

  • งานวิจัย 11 การศึกษาในผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังจากสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่โรคมะเร็งและอาการปวดรบกวนการนอน จำนวน 906 คน รับประทานกัญชาที่มี THC พบว่า หนึ่งในห้าของผู้ที่ได้รับกัญชาลดปัญหาอาการปวดรบกวนการนอน

           *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้ เมื่อใช้ยามาตรฐานรักษาแล้วไม่ได้ผล

      ข้อบ่งใช้บรรเทาอาการปวดเรื้อรัง

  • งานวิจัย 32 การศึกษาในผู้ที่มีอาการปวดเรื้อรังที่ไม่ได้มีสาเหตุจากมะเร็ง 28 การศึกษา และปวดเรื้อรังจากมะเร็ง 4 การศึกษา พบว่า กัญชาทางการแพทย์รูปแบบรับประทานบรรเทาอาการปวดเรื้อรัง และช่วยให้นอนหลับได้เล็กน้อย

            *สูง, แนะนำให้ใช้ เมื่อใช้ยารักษามาตรฐานแล้วไม่ได้ผล เพราะให้ผลน้อย

  • สารสกัดกัญชารูปแบบสเปรย์พ่นในช่องปาก โดยมีสัดส่วนของสาร Cannabidiol (CBD) ต่อ Tetrahydrocannabinol (THC) เท่ากับ 1:1 ช่วยบรรเทาอาการปวดในผู้ป่วยมะเร็งได้

           *สูง, แนะนำให้ใช้ เมื่อใช้ยามาตรฐานรักษาแล้วไม่ได้ผล

      ข้อบ่งใช้ในผู้ป่วยมะเร็ง

  • สารสกัดกัญชาที่มีสาร THC ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนจากยาเคมีบำบัดในผู้ป่วยมะเร็ง

            *สูง, แนะนำให้ใช้ เมื่อใช้ยามาตรฐานรักษาแล้วไม่ได้ผล

  • ผู้ที่ใช้และไม่ใช้สารสกัดกัญชา พบว่า เพิ่มคุณภาพชีวิตในผู้ป่วยมะเร็งไม่แตกต่างกัน

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัย 25 การศึกษาในผู้ป่วยโรคมัลติเพิลสเคลอโรสิส (multiple sclerosis) จำนวน 3,763 คน สารสกัดกัญชารูปแบบสเปรย์พ่นในช่องปาก โดยมีสัดส่วนของสาร Cannabidiol (CBD) ต่อ Tetrahydrocannabinol (THC) เท่ากับ 1:1 (13 การศึกษา) หรือสารสกัด THC (2 การศึกษา) การศึกษาอื่นๆ ใช้สารสังเคราะห์ THC เป็นต้น เทียบกับยาหลอก พบว่า
    • ลดความรุนแรงของกล้ามเนื้อหดเกร็ง
      • *ปานกลาง, อาจใช้เสริมการรักษามาตรฐาน
    • ลดอาการปวดปลายประสาท
      • *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้
    • ไม่มีผลเพิ่มคุณภาพชีวิต
      • *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้
  • งานวิจัยในผู้ที่มีอาการปวดปลายประสาททั้ง central and peripheral neuropathic pain พบว่า สารสกัดกัญชา CBD:THC อัตราส่วน 1:1 ช่วยบรรเทาอาการปวดปลายประสาท

            *ปานกลาง, อาจใช้สำหรับข้อบ่งใช้นี้ เมื่อใช้ยามาตรฐานรักษาแล้วไม่ได้ผล

  • มีรายงานในผู้ป่วยชาย อายุ 81 ปี โรคมะเร็งปอดและมะเร็งแพร่กระจายไปต่อมน้ำเหลือง จำนวน 1 รายปฏิเสธเข้ารับการรักษาด้วยยาเคมีบำบัดหรือการฉายแสง ได้รับน้ำมัน CBD 2% ขนาด 2 หยด (CBD 1.32 มก.) วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นได้รับ ขนาด 9 หยด (CBD 6 มก.) วันละ 2 ครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ หลังจากนั้นหยุดใช้เพราะมีอาการคลื่นไส้ พบว่า มะเร็งมีขนาดเล็กลง

            *ต่ำ, ยังไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยโควิดที่มีความรุนแรงน้อยถึงปานกลาง จำนวน 91 คน รับประทาน CBD ขนาด 300 มก.ต่อวัน เป็นเวลา 14 วัน ร่วมกับการรักษามาตรฐาน พบว่า ผู้ที่ได้รับและไม่ได้รับ CBD ให้ผลบรรเทาอาการและลดปริมาณเชื้อไวรัสได้ไม่แตกต่างกัน

           *ปานกลาง, ไม่แนะนำให้ใช้

  • งานวิจัยในผู้ป่วยอัลไซเมอร์ จำนวน 39 คน รับประทาน THC สังเคราะห์ ขนาดยาที่ได้รับ 1.5 มก. วันละ 3 ครั้ง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ พบว่า เพิ่มการคิดวิเคราะห์ได้เล็กน้อย (cognitive function)

          *น้อยถึงปานกลาง, ยังไม่แนะนำให้ใช้ 

  • งานวิจัย 3 การศึกษาในผู้ป่วยโรคพาร์กินสัน จำนวน 83 คน ได้รับ CBD หรือ THC ร่วมกับยา levodopa พบว่าให้ผลไม่แตกต่างจากยาหลอกสำหรับบรรเทาอาการพาร์กินสันโดยรวม แต่มีหนึ่งการศึกษาพบว่าช่วยบรรเทาอาการความผิดปกติของการเคลื่อนไหวร่างกายที่ไม่สามารถควบคุมได้ (dyskinesia)

           *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

  • ยังไม่มีงานวิจัยในคนที่น่าเชื่อถือยืนยันผลว่า
    • ช่วยบรรเทาอาการไมเกรน หรือ เพิ่มคุณภาพการนอนหลับได้

             *ต่ำ, ไม่แนะนำให้ใช้

This Section for Subscription Only
+ ข้อควรระวัง
+ อันตรกิริยากับยา
+ ปรึกษากับอาจารย์มยุรี

เอกสารอ้างอิง

  1. Jugl S, Keshwani S, Adkins L, Heldermon CD, Winterstein A, Goodin A. A systematic review of evidence for cannabis and cannabinoids as adjuvant therapy in palliative and supportive oncology care. J Clin Oncol. 2020;38(15 suppl):12091.
  2. Mücke M, Weier M, Carter C, Copeland J, Degenhardt L, Cuhls H, et al. Systematic review and meta-analysis of cannabinoids in palliative medicine. J Cachexia Sarcopenia Muscle. 2018;9(2):220-34.
  3. Hernández-Cervantes R, Méndez-Díaz M, Prospéro-García Ó, Morales-Montor J. Immunoregulatory role of cannabinoids during infectious disease. Neuroimmunomodulation. 2017;24(4-5):183-99.
  4. Iffland K, Grotenhermen F. An update on safety and side effects of cannabidiol: A review of clinical data and relevant animal studies. Cannabis and Cannabinoid Res 2017;2(1):139-54.
  5. Ortiz-Medina MB, Perea M, Torales J, Ventriglio A, Vitrani G, Aguilar L, et al. Cannabis consumption and psychosis or schizophrenia development. Int J Soc Psychiatry. 2018;64(7):690-704.
  6. Park F, Potukuchi PK, Moradi H, Kovesdy CP. Cannabinoids and the kidney: effects in health and disease. Am J Physiol Renal Physiol. 2017;313:F1124–F32.
  7. Zinboonyahgoon N, Srisuma S, Limsawart W, Rice ASC, Suthisisang C. Medicinal cannabis in Thailand: 1-year experience after legalization. Pain. 2020:doi: 10.1097/j.pain.0000000000001936.
  8. Lexicomp® Drug Interactions
  9. Wallach J. Chapter 5 - Medicinal Cannabis: an overview for health-care providers. In: Adejare A, editor. Remington (Twenty-third Edition): Academic Press; 2021. p. 75-101.
  10. Mücke M, Phillips T, Radbruch L, Petzke F, Häuser W. Cannabis-based medicines for chronic neuropathic pain in adults. Cochrane Database Syst Rev. 2018;3(3):CD012182.
  11. Zajicek J, Fox P, Sanders H, Wright D, Vickery J, Nunn A, et al. Cannabinoids for treatment of spasticity and other symptoms related to multiple sclerosis (CAMS study): multicentre randomised placebo-controlled trial. Lancet. 2003;362(9395):1517-26.
  12. Childs E, Lutz JA, de Wit H. Dose-related effects of delta-9-THC on emotional responses to acute psychosocial stress. Drug Alcohol Depend. 2017;177:136-44.
  13. Suraev AS, Marshall NS, Vandrey R, McCartney D, Benson MJ, McGregor IS, et al. Cannabinoid therapies in the management of sleep disorders: A systematic review of preclinical and clinical studies. Sleep Med Rev. 2020;53:101339.
  14. Wang QQ, Kaelber DC, Xu R, Volkow ND. COVID-19 risk and outcomes in patients with substance use disorders: analyses from electronic health records in the United States. Mol Psychiatry. 2021;26(1):30-9.
  15. Leino AD, Emoto C, Fukuda T, Privitera M, Vinks AA, Alloway RR. Evidence of a clinically significant drug-drug interaction between cannabidiol and tacrolimus. Am J Transplant. 2019;19(10):2944-8.
  16. Fragoso YD, Carra A, Macias MA. Cannabis and multiple sclerosis. Expert Rev Neurother. 2020;20(8):849-854.
  17. Wang L, Hong PJ, May C, et al. Medical cannabis or cannabinoids for chronic non-cancer and cancer related pain: a systematic review and meta-analysis of randomised clinical trials. BMJ. 2021;374:n1034.
  18. Busse JW, Vankrunkelsven P, Zeng L, et al. Medical cannabis or cannabinoids for chronic pain: a clinical practice guideline. BMJ. 2021;374:n2040.
  19. Sulé-Suso J, Watson NA, van Pittius DG, Jegannathen A. Striking lung cancer response to self-administration of cannabidiol: A case report and literature review. SAGE Open Med Case Rep. 2019;7:2050313X19832160-2050313X.
  20. Filippini G, Minozzi S, Borrelli F, Cinquini M, Dwan K. Cannabis and cannabinoids for symptomatic treatment for people with multiple sclerosis. Cochrane Database Syst Rev. 2022(5):CD013444.
  21. Crippa JAS, Pacheco JC, Zuardi AW, Guimarães FS, Campos AC, Osório FL, et al. Cannabidiol for COVID-19 patients with mild to moderate symptoms (CANDIDATE Study): A randomized, double-blind, placebo-controlled clinical trial. Cannabis Cannabinoid Res. 2021;doi: 10.1089/can.2021.0093. Online ahead of print.
  22. Taha T, Meiri D, Talhamy S, Wollner M, Peer A, Bar‐Sela G. Cannabis impacts tumor response rate to nivolumab in patients with advanced malignancies. The Oncologist. 2019;24(4):549-54.
  23. Bar-Sela G, Cohen IA-O, Campisi-Pinto S, Lewitus GM, Oz-Ari L, Jehassi A, et al. Cannabis consumption used by cancer patients during immunotherapy correlates with poor clinical outcome. Cancers (Basel). 2020;12(9):2447.
  24. AminiLari M, Wang L, Neumark S, Adli T, Couban RJ, Giangregorio A, et al. Medical cannabis and cannabinoids for impaired sleep: a systematic review and meta-analysis of randomized clinical trials. Sleep. 2022;45(2):zsab234.
  25. Thanabalasingam SJ, Ranjith B, Jackson R, Wijeratne DT. Cannabis and its derivatives for the use of motor symptoms in Parkinson’s disease: a systematic review and meta-analysis. Ther Adv Neurol Disord. 2021;14:17562864211018561.
  26. Déléaval M, Burri H, Bakelants E. Harmless herbs? A case report of acquired long QT syndrome and torsades de pointes in a patient taking herbal supplements. HeartRhythm Case Rep. 2022;8(5):309-312.
  27. Bosnjak Kuharic, D., et al. Cannabinoids for the treatment of dementia. Cochrane Database Syst Rev. 2021; 9(9): CD012820.
  28. Arnold JC, Nation T, McGregor IS. Prescribing medicinal cannabis. Aust Prescr. 2020;43(5):152-9.
  29. Australian Centre for Cannabinoid Clinical and Research Excellence. Prescribing Guidance: Prescribing Cannabis Mediines for Management of Chemotherapy-Induced Nausea and Vomiting (CINV) 2021 [Available from: https://www.australiancannabinoidresearch.com.au/media/1116/nsw-prescribing-guidance-cinv-v3.pdf.
  30. Razmovski-Naumovski V, Luckett T, Amgarth-Duff I, Agar MR. Efficacy of medicinal cannabis for appetite-related symptoms in people with cancer: A systematic review. Palliat Med. 2022;36(6):912-27.
Herbalexpertbymayuree Application
Copyright © 2020 by M.Tangkiatkumjai
Visitors : 154592